วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

สต๊ออ...สตรอเบอรี๊ ( :


สตรอเบอรี่ GMOs
สตรอเบอรี่ ในประเทศไทย มีประวัติความเป็นมายาวนาน คือมีการนำพันธุ์เข้ามาทดลองปลูกหลายยุคหลายสมัยทางภาคเหนือและนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานต้น พันธุ์สตรอเบอรี่ ที่คัดสรรมาแล้วอย่างดีได้แก่ พันธุ์แคมบริดจ์แฟเวอริท , พันธุ์ทีโอก้า และ                       พันธุ์ซีควอเอียแก่เกษตรกร หรือรู้จักกันในนามพันธุ์พระราชทาน 13, 16 และ 20 ตามลำดับ


ด้วยผลที่มีสีแดงสดของสตรอเบอรี่ ยังทำให้มีส่วนประกอบของสารสำคัญที่ชื่อว่า แอโธไซ-ยานิน (anthocyanin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์  ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ชะลอความเสื่อมของดวงตาที่สำคัญคือยังช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษอีกด้วย


โทษของสตรอเบอรี่ GMOs
1. เกิดสารก่อภูมิแพ้
2.
การต้านยาปฏิชีวนะ
3.
เกิดไวรัสชนิดใหม่ หรือทนทานต่อความแห้งแล้ง ความร้อน
4.
เกิดวัชพืชชนิดใหม่
5.
ศัตรูพืชที่มีความต้านทานสูงขึ้น
6.
เกิดสารพิษชนิดใหม่
7.
เกิดการผูกขาดพันธุ์พืช
8.
เป็นทาสความรู้ทางเทคโนโลยีปริมาณเบต้าแคโรทีน และธาตุเหล็กในข้าวเจ้า
9.
ราคาสินค้าอาจแพงขึ้นหลังจากถูกลงในระยะแรก



ประโยชน์ของสตรอเบอรี่ GMOs
ตอนนี้สตรอเบอรี่ กลายเป็นผลไม้ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของภาคเหนือ สามารถส่งออกได้ทั้งในลักษณะแช่แข็ง ทำเงินเข้าประเทศได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในรูปแบบรับประทานสดและแปรรูป สร้างรายได้แก่ เกษตรกรอย่างมาก และในแง่โภชนาการแล้ว "สตรอเบอรี่" ยังมีวิตามินเอ ฟอสฟอรัส แคลเซียม และที่สำคัญคือมีวิตามินซี จำนวนมหาศาลโดยในวิตามินซีนั้นมีกรดอินทรีย์สำคัญที่เรียกว่า "กรดแอสคอร์บิก" (ascorbic acid) ซึ่งช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายต่อโรคภัยต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหวัด เป็นต้น ที่สำคัญคือ ช่วยชะลอความแก่และริ้วรอยก่อนวัยอันควรหรือ "ต้านอนุมูลอิสระ"